สิ่งที่ควรทำเป็นประจำทุกวันสำหรับสระว่ายน้ำ
1. ทดสอบค่า Br,Cl,pH ทุกเช้า 1 ครั้ง และก่อนปิดสระ 1 ครั้ง พร้อมปรับแต่งให้อยู่ในสภาพสมดุลพร้อมใช้งานทันที
2. เช็คระดับน้ำใน SURGE TANK ให้มีปริมาณน้ำที่เพียงพอ( 1/2 ของTANK )
3. เช็คความดันที่เกจวัดความดันของเครื่องกรองว่าถึงเวลาล้างหรือยัง พร้อมเปิดวาล์วไล่อากาศที่เครื่องกรอง
4. ดูตะกอนพื้นสระพร้อมทำความสะอาดบริเวณสระน้ำและอุปกรณ์ต่างๆ
5. เดินเครื่องระบบกรองตามเวลาพร้อมตรวจตำแหน่งเปิดปิดของวาล์วต่างๆให้อยู่สภาพปกติและตรวจเช็คสารเคมีให้มีสำรอง
สมดุลทางเคมีของน้ำในสระได้โดยทำการวัดค่าต่อไปนี้
1. ระดับของค่าคลอรีนอิสระ (FAC) ไม่ควรต่ำกว่า 1.0 ppm
2. ระดับของค่าคลอรีนทั้งหมด (Total Chlorine) เพื่อไม่ให้ค่าคลอรีนรวมที่อยู่ในน้ำต่ำกว่า 0.2 ppm
3. ค่า pH ควรอยู่ระหว่าง 7.2 – 7.6 ซึ่งคลอรีนในน้ำจะทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. วัดค่าอัลคาลินิตี้รวม (Total Alkalinity) เพื่อให้แน่ใจว่าค่า pH อยู่คงที่
5. วัดความกระด้างของน้ำ เพื่อเป็นการป้องกันการกัดกร่อนของพื้นผิวสระว่ายน้ำ
มาตรฐานทางเคมีของสระว่ายน้ำ
แนวทางที่กำหนดเป็นมาตรฐานทางเคมีของสระว่ายน้ำ โดยสถาบันสระว่ายน้ำแห่งชาติ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมาตรฐานทางด้านสาธารณสุขของแต่ละแห่ง ชนิดของสารเคมีที่ใช้ในแต่ละสระว่ายน้ำที่มี ความแตกต่างกัน และความแตกต่างกันในแต่ละวัน การจดบันทึกข้อมูลการใช้สารเคมี และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ก็จะสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าถึงคุณสมบัติของน้ำในสระได้ และทำให้การแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ตรงถูกจุด

ค่ามาตรฐานที่เสนอ ค่าที่ยอมรับ
คลอรีนอิสระ (ppm) 1.0 – 3.0 PPM
คลอรีนรวมกับสารอื่น (ppm) ไม่ควรเกิน 0.5-1 PPM
pH 7.2 – 7.6 PPM
Total Alkalinity (ppm) (เมื่อใช้คลอรีนเหลว, แคเซียมไฮโปคลอไรท์ และลิเทียม ไอโปคลอไรท์) 80 – 100 PPM
Total Alkalinity (ppm) (เมื่อใช้ก๊าซคลอรีน, ไดคลอโร, ไตรคลอโร, และสารประกอบโบรมีน) 100 – 120 PPM
Total Dissolved Solids (ppm) (ของแข็งที่ละลายในน้ำทั้งหมด) 1,000 – 2,000 PPM
Calcium Hardness (ppm) (ความกระด้าง) 200 – 400 PPM
Cyanuric Acid (ppm) (กรดไซยานูริค) 30 – 50 PPM

การบำบัดน้ำในสระอย่างเฉียบพลัน หลายท่านอาจมีความเข้าใจว่าการที่เราว่ายน้ำและได้กลิ่นแรงของคลอรีนคงเป็นเพราะมีการใช้คลอรีนมาก ในสระนั้น แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าสระน้ำนั้นพยายามที่ใส่คลอรีนมากเกินปริมาณปกติเพื่อกลบเกลื่อนและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสระน้ำนั้นการบำบัดน้ำในสระแบบเฉียบพลัน เป็นการเติมสารเคมี ในปริมาณที่มากกว่าปกติ ลงในสระว่ายน้ำปริมาณที่สูงเกินปกตินี้จะไปทำลายสารปนเปื้อนอินทรีย์ (Organic Contaminants) และทำการออกซิไดซ์ แอมโมเนียและสารประกอบไนโตรเจนและกำจัดกลิ่นของ คลอรามีน (Chloramine) ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการระคายเคืองในกรณีที่ใช้คลอรีนในการรักษาคุณภาพน้ำในสระ ผลิตภัณฑ์คลอรีนหลายชนิด จะมีคำแนะนำในการฆ่าสาหร่าย และแบคทีเรีย ซึ่งจะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการ ทำความสะอาดน้ำในสระมากขึ้น การบำบัดแบบเฉียบพลัน ต้องใช้ร่วมกับเครื่องปั๊มและอุปกรณ์กรอง และควรกระทำในเวลาเย็นหลังพระอาทิตย์ตกไปแล้ว เพื่อไม่ให้มีการสูญเสียคลอรีนไป เนื่องจากรังสีอุลตราไวโอเล็ท คำว่า มีปริมาณคลอรีนเกินจุดอิ่มตัว (Super Chlorination) บางครั้งจะใช้เรียกแทนการบำบัดแบบเฉียบพลัน ซึ่งหมายถึงการทำให้มีค่าคลอรีนอิสระ (FAC) สูงถึง 5 ppm หรือมากกว่าการบำบัดแบบนี้ นอกจากจะช่วยออกซิไดซ์ของเสียต่างๆในสระว่ายน้ำแล้ว ยังช่วยกำจัดสาหร่ายและแบคทีเรีย ที่ซ่อนอยู่ตามอุปกรณ์กรองน้ำที่ทำความสะอาดได้ยากได้อีกด้วยและการทำให้มีปริมาณคลอรีนเกินจุดอิ่มตัว (Super Chlorination) จะยังช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นของคลอรามีน ซึ่งจากการเติมคลอรีนลงสระว่ายน้ำ ให้ในน้ำมีค่าปริมาณคลอรีนรวมสูงเป็น 10 เท่าจะทำให้มีปริมาณคลอรีนเกินจุดที่เรียกว่าBreakpoint Chlorination ซึ่งสามารถกำจัดคลอรามีนที่ทำให้เกิดการระคายเคืองได้


11,350 total views, 9 views today

Leave a Reply

Your email address will not be published.

fifteen − eight =

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.